วันที่: 14-03-2013
ประวัติ การจัดโต๊ะหมู่บูชาเป็นวัฒนธรรมประจำชาติไทยที่มีมานาน สันนิษฐานว่าได้แบบอย่างมาจากการจัดโต๊ะน้ำชาของชาวจีนที่มาค้าขายกับไทยในสมัยรัชกาลที่3 มีการจัดโต๊ะหมู่เป็นครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.2391ในงานฉลองวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์) ต่อมาในสมัยรัชกาลที่4ทรงโปรดให้มีการจัดประกวดการจัดโต๊ะหมู่บูชาในวัดดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว) ซึ่งมีถึงกว่า100โต๊ะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ทิศและการตั้งโต๊ะหมู่บูชาหรือหิ้งพระ(ตำรามอญโบราณ)
ควรหันหน้าพระพุทธ(พระประธาน)ไปทางทิศตะวันออก จะทำให้การค้า การงาน เจริญรุ่งโรจน์
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จะทำให้มั่งคั่ง ร่ำรวยเป็นเศรษฐี
ทิศเหนือ จะทำให้อยู่เย็นเป็นสุข
แต่ทั้งนี้ก็แล้วแต่ความเชื่อปัจจัยและความเหมาะสมหลายๆอย่าง ข้อสำคัญตั้งแล้วควรสวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำ
การจัดตั้งโต๊ะหมู่ในปัจจุบันแบ่งเป็น2กรณีคือ
1.ในพิธีทางศาสนาเช่นทำบุญ ฟังเทศน์
2.ในพิธีถวายพระพรหรือตั้งรับเสด็จ
หลักการจัดโต๊ะหมู่บูชา การจัดเครื่องบูชาและรูปแบบการจัดโต๊ะหมู่บูชา ให้ยึดหลักดังนี้
1.พระพุทธรูปต้องอยู่สูงกว่าเครื่องบูชาทุกชนิด
2.อย่างน้อยที่สุดเครื่องบูชาต้องมีแจกัน1คู่ เชิงเทียน1คู่และกระถางธูป1ใบ
การตั้งโต๊ะหมู่บูชาที่มีเฉพาะพระพุทธรูปโดยไม่มีธงชาติและพระบรมฉายาลักษณ์ จะมี3ลักษณะคือ
1.งานศาสนพิธีวันวิสาขบูชา วันมาฆบูชาฯลฯ
2.งานพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯเป็นประธานหรือโปรดเกล้าให้ผู้แทนพระองค์มางานเช่นพิธีพระราชทานปริญญาบัตร
3.งานพิธีที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นสิริมงคลเช่นพิธีวางศิลาฤกษ์ งานขึ้นบ้านใหม่ฯลฯ
การตั้งโต๊ะหมู่ในพิธีทางราชการให้ตั้งโต๊ะหมู่บูชาอยู่ตรงกลาง ธงชาติอยู่ด้านขวาของโต๊ะหมู่ พระบรมฉายาลักษณ์อยู่ด้านซ้าย
การตั้งโต๊ะหมู่ถวายพระพรหรือรับเสด็จให้ประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์ไว้บนโต๊ะตัวที่สูงที่สุด วางแจกัน พุ่มดอกไม้ ธูปเทียนแพ โดยให้ธูปเทียนแพวางที่โต๊ะตัวที่ต่ำที่สุด
|
|
|